TI & IR: คู่หูป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

Datafarm
2 min readNov 22, 2024

การข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence: TI ) และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response: IR) เป็นกระบวนการสำคัญในการดูแลความปลอดภัยที่องค์กรต้องมีแผนในการจัดการและรับมือต่อการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับตัวองค์กร ดังนั้นการเข้าใจและจัดการกับภัยคุกคามจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันข้อมูลที่สำคัญ และรักษาความปลอดภัยของระบบ

องค์กรจึงต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามและเตรียมพร้อมในการจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การรวมกันของ TI และ IR จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสามารถยกระดับให้การดูแลความปลอดภัยของระบบเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่ช้าก่อน ก่อนที่เราจะไปดูการควบรวมกันของ TI และ IR เรามาทำความรู้จักกับ TI และ IR กันก่อนดีกว่า

การข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence: TI) คือกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับระบบและเครือข่าย (Network) ขององค์กรที่ช่วยให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามเหล่านี้และตัดสินใจเพื่อป้องกันและตอบสนองต่อพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติจะมีหลายขั้นตอน รวมถึงการค้นหาข้อมูล, การรวบรวมข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล

โดยการรวบรวมข้อมูลจะเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มา ทั้งจากภายในองค์กรและจากแหล่งข้อมูลภายนอก เช่น ข่าวสาร, บล็อก หรือฟอรั่มของนักวิจัยด้านความปลอดภัย การรวบรวมข้อมูลที่ดีและมีคุณภาพสูงจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ภัยคุกคามต่อตัวองค์กร และการวิเคราะห์ข้อมูลอาจรวมถึงการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้โจมตี, การวิเคราะห์มัลแวร์ (Malware) และการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบ การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้โจมตีจึงช่วยให้องค์กรเข้าใจรูปแบบการโจมตีและวิธีการที่ใช้ การวิเคราะห์มัลแวร์จะช่วยในการระบุและกำจัดโปรแกรมที่เป็นอันตราย ส่วนการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบจะช่วยให้องค์กรสามารถระบุและแก้ไขจุดอ่อนที่อาจถูกใช้ในการโจมตี

Figure 1: Theat Intelligence Information

นอกจากนี้ขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคามยังเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรสามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในการป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคาม นอกจากนี้การข่าวกรองภัยคุกคามที่ดีช่วยให้องค์กรสามารถระบุและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น

“Personar — Data Leak Monitoring Service “ ของดาต้าฟาร์ม ซึ่งเป็น Threat Intelligence Platform (TIP) ที่สามารถตรวจสอบได้ว่ารหัสผ่าน หรือข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ของเรา ได้หลุดไปยัง dark web หรือแหล่งอื่น ๆ แล้วหรือไม่ โดยข้อมูลนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถรับรู้ถึงการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญและสามารถตอบสนองได้ทันที ส่งผลให้องค์กรสามารถรีเซ็ตข้อมูลที่หลุด แจ้งเตือนผู้ใช้ถึงความเสี่ยง และเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น การใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) หรือการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ

Figure 2: Personar — Data Leak Monitoring Service

ส่วนที่สำคัญต่อมาคือ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response:IR) เป็นกระบวนการที่องค์กรใช้ในการตอบสนองต่อการโจมตีไซเบอร์ที่เกิดขึ้นแล้ว การตอบสนองต่อเหตุการณ์มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจสอบเหตุการณ์ การกักกันภัยคุกคาม การกำจัดภัยคุกคาม และการฟื้นฟูระบบ โดยอธิบายได้ดังนี้

Figure 3: NIST- Incident Response Lifecycle
  1. การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสียหายและการหยุดชะงักของธุรกิจ (Business) โดยการตรวจสอบเหตุการณ์การโจมตีเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการระบุและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงลักษณะและขอบเขตของการโจมตี ส่งผลให้ตอบสนองได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
  2. การกักกันภัยคุกคามเป็นขั้นตอนที่ช่วยหยุดการแพร่กระจายของภัยคุกคามภายในระบบ การกักกันอาจรวมถึงการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การปิดการใช้งานระบบที่ถูกโจมตี หรือการแยกเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตีออกจากเครือข่าย
  3. การกำจัดภัยคุกคามเป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายในการลบโปรแกรมที่เป็นอันตรายและแก้ไขช่องโหว่ที่ถูกใช้ในการโจมตี การกำจัดภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ระบบกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
  4. การฟื้นฟูระบบเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ช่วยให้ระบบกลับมาทำงานได้ตามปกติ การฟื้นฟูรวมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่ การอัปเดตระบบ การตรวจสอบความปลอดภัย และการปรับปรุงกระบวนการป้องกัน การฟื้นฟูที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีซ้ำ

หลังจากที่เรารู้จักกับ TI และ IR แล้ว การใช้งานร่วมกันเราจะเรียกว่า การบูรณาการระหว่าง การข่าวกรองภัยคุกคาม (TI) และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ (IR) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความปลอดภัยที่มั่นคงในองค์กร การข่าวกรองภัยคุกคามจะช่วยให้สามารถคาดการณ์และป้องกันภัยคุกคามก่อนที่จะเกิดขึ้น ขณะที่การตอบสนองต่อเหตุการณ์จะช่วยให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างทีม TI และทีม IR ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะข้อมูลจากการวิเคราะห์ภัยคุกคามจะช่วยให้ทีม IR สามารถดำเนินการตอบสนองได้รวดเร็วและแม่นยำ ทำให้การป้องกันและการตอบสนองต่อภัยคุกคามทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Figure 4: Integration of TI & IR

แม้ว่าการบูรณาการระหว่าง TI และ IR จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีความท้าทายบางประการ เช่น การค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาจริง การฝึกฝนทีมงานและการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทีมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การลงทุนในเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

สรุปคือ การข่าวกรองภัยคุกคาม (TI) และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ (IR) เป็นกระบวนการสำคัญในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร โดยการบูรณาการระหว่าง TI และ IR ช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจและจัดการกับภัยคุกคามที่ซับซ้อน การฝึกฝนทีมงาน และการลงทุนในเทคโนโลยีทันสมัย เป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

--

--

No responses yet