Safer Internet Day: วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น

Datafarm
2 min readFeb 10, 2021

บทความนี้เขียนขึ้นตามคำเรียกร้องของ FC บริษัทดาต้าฟาร์ม ท่านหนึ่ง ที่บอกว่า “พี่ครับผมเข้า Google และเว็บไซต์อื่น ๆ แล้วเห็นข้อความว่า #SaferInternetDay ผมเลยอยากรู้ว่ามันคืออะไร ขอบคุณครับ” ดังนั้นวันนี้แอดขอเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับ วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น

Safer Internet Day คือ วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น ก่อตั้งในยุโรปเมื่อปี 2004 ( EU SafeBorders ในปี 2547) และได้ฉลองการเป็นวันระดับโลกเป็นปีที่ 17 เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของ #วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น และช่วยสร้างความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ตให้กับทุกคน คอนเซ็ปต์วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้นปี 2021 นี้ ของ @safeinternetday คือ ‘การร่วมมือกันเพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น (Together for a better internet)’ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของ #วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น และช่วยสร้างความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ตให้กับทุกคน ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

ที่มา https://www.mxphone.com/twitter-safer-internet-day/, https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000013064

จะเห็นว่าในโลกปัจจุบันนี้ ทุกคนแทบจะใช้อินเทอร์เน็ตกันหมด นอกจากภัยการโจมตีทางด้านไซเบอร์แล้ว ภัยอื่นๆที่มาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็มีตามมาด้วย เช่น Cyberbully โดย ราชบัณฑิตสภา ให้คำนิยาม Cyber Bully ว่าคือ “การระรานทางไซเบอร์” หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์

สมัยก่อนจะมีอินเทอร์เน็ต แทบทุกท่านล้วนเคยโดน กลั่นแกล้ง ไม่ว่าจากการโดนด่า การให้ร้าย ยิ่งสมัยตอนประถมหรือมัธยม ยิ่งจะโดนหนัก แต่เมื่อโดนแล้วส่วนมาก ก็จะจบแค่ในโรงเรียน แต่ในปัจจุบันนี้ เมื่อมีการใช้งาน โซเชียลมีเดีย ยิ่งทำให้การบลูลี่ เกิดขึ้นได้ง่ายและจับตัวได้ยาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ท่านทราบหรือไม่ว่า ปัญหาการระรานในโรงเรียนบ้านเรา ปัจจุบันนี้สูงถึงร้อยละ 40 ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น

รูปแบบของ Cyberbullying ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

  1. การข่มขู่คุกคาม หรือให้ร้ายเหยื่อ บางครั้งนำไปสู่การทำร้ายร่างกายกันจริง ๆ
  2. การเปิดโปงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ โดยการเอาไปโพสต์หรือส่งต่อให้คนอื่นรับรู้ เช่น ภาพหลุด ภาพตลก ๆ เพื่อประจาน ทำให้อับอาย
  3. การคุกคามทางเพศ โดยใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางเพศ ส่งภาพหรือวิดีโอมาให้แล้วชวนทำกิจกรรมทางเพศ การตัดต่อภาพโป๊เปลือย การลวงให้ส่งรูปไม่เหมาะสมแล้วนำไปโพสต์ประจานหรือแบล็กเมล
  4. การแอบอ้างตัวตน โดยการแอบเข้าบัญชีออนไลน์ของเหยื่อ หรือสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ชื่อและ/หรือรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำบัญชีไปใช้ในทางไม่เหมาะสม
  5. การสร้างกลุ่มเพื่อโจมตี เช่น เพจแอนตี้ต่าง ๆ เพื่อจับผิด ประจาน พูดคุยตำหนิ ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเกลียดชังเหยื่อ

(อ้างอิง https://www.etda.or.th/th/Knowledge-Sharing/Cyberbullying-in-IFBL.aspx)

ในส่วนนี้กรมสุขภาพจิต ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับ Cyberbully ตามลิงค์ https://www.tiktok.com/@thaidmh/video/6926846053778066690?is_copy_url=0&is_from_webapp=v2&sender_device=pc&sender_web_id=6892282774284781057#/@thaidmh/video/6926846053778066690

คราวนี้มาดูวิธีรับมือ ของการถูกกลั่นแกล้ง ทางด้านไซเบอร์ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต

จะขาดไม่ได้เลยเรามาดูกันว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยฉบับคนทำงานด้าน Cybersecurity กันครับ

  1. ตั้ง Password ให้ยากต่อการคาดเดา ถ้าจำไม่ได้ก็ใช้ Password manager เช่น LastPass หรือ 1Password เป็นต้น
  2. เครื่องมือถือ ไม่ควรเจลเบรกหรือ root ยกเว้น เครื่องที่เอาไว้ทำ Pentest
  3. คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรจะต้องลง Antivirus ยกเว้นเครื่องที่ทำ Pentest ไม่งั้น Tools หายหมดแน่
  4. ควรมีการอัพเดท Software อย่างสม่ำเสมอ ยกเว้น Tools บางตัว แทนที่จะ update ให้ดี กลับอัพเดทแล้ว บั๊กเยอะกว่าเดิม เยี่ยมจริง ๆ ดังนั้น ก่อนจะอัพเดท ไปถามแพะก่อน (คือคนที่อัพเดทก่อนเรา)
  5. Password ที่ใช้งานแต่ละเว็บไซต์ไม่ควรเหมือนกัน
  6. ก่อนจะคอมเม้นหรือโพสข้อความอะไรในโซเชียลระวัง ผิดกฎหมายด้วย มีสติ คิดก่อนโพส ขอสติจงอยู่กับท่าน
  7. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่ากับใครก็ตาม ยกเว้น แฟน เวลาเจอถามไม่งั้นอาจจะหัวแตกได้ แอดเป็นห่วง
  8. ไม่โอนเงินให้ใครเด็ดขาด ที่ติดต่อทางด้าน Social (จริง ๆ ข้อนี้ น้อง ๆ ที่ทำงานด้าน cybersecurity น่าจะไม่โดนกัน เพราะเงินเดือนหมดตั้งแต่ต้นเดือนละ วงวานน้อนนนน)
  9. ระมัดระวังการซื้อของทางอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาดี ๆ ก่อน อย่าสักดูแต่ว่าของถูก
  10. เมื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่น บนมือถือให้พิจารณา และอ่านให้ดีว่า แอพที่เราติดตั้ง จำเป็นต้องขอข้อมูลอะไรบ้าง ให้เราพิจารณาก่อนติดตั้งเสมอ
  11. เมื่อเจอ SMS หรือ Mail โฆษณา ส่ง URL เพื่อให้เราคลิก เช่น การพนันหรือเว็บลามก ให้เราแฮกได้เลย เพื่อที่จะได้สิทธิ VIP หยอกๆๆ ไม่ควรเข้าไปใช้งานให้ลบข้อความเหล่านั้นทิ้ง
  12. ไม่ควรดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ แม้จะมีข้อความยั่วใจแค่ไหน ก็ตาม เช่น JAV-201 ก็ตาม รู้จักหักห้ามใจแบบแอด ให้ได้ด้วยนะครับ

ก่อนลาจากบทความนี้ หากสิ่งใดผิดพลาดแอดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย บทความนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ถึง 18+ ต่ำกว่านี้ก็อ่านได้ สาธุ บั้ยยยย

ปล. ท่านใดมีวิธีใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย สไตล์ตัวเองคอมเม้นที่เพจเราได้เลยจ้า

--

--

No responses yet