Multi-Factor Authentication

Datafarm
2 min readFeb 23, 2022

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Multi-Factor Authentication หรือ การยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน

Multi-Factor Authentication คืออะไร ?

Multi-Factor Authentication คือการใช้ปัจจัยหลายๆอย่าง ในการตรวจสอบและยืนยันตัวบุคคล เพื่ออนุญาตเข้าใช้งาน ซอฟต์แวร์, ระบบ หรือข้อมูลต่างๆ โดยทั่วไประบบ Multi-Factor Authentication จะเป็นการใช้เครื่องมือตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปในการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ในการเข้าใช้งาน

ปัจจัยในการตรวจสอบ มีอะไรบ้าง ?

ปัจจัยในการตรวจสอบมีประมาณ 5 ปัจจัย ได้แก่

ปัจจัยที่ 1. Something you know (สิ่งที่คุณรู้) โดยส่วนมากก็จะเป็น รหัสผ่าน, รหัสประจำตัว, หรือ คำถามเฉพาะเพื่อกู้รหัสผ่าน ในส่วนของรหัสผ่าน อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้เป็นประจำอยู่แล้ว เพราะเวลาจะเข้าใช้งานอีเมล ก็ต้องมีการกรอก ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งเราก็ต้องรู้รหัสผ่านที่ถูกต้องที่สามารถเข้าใช้งานได้ ในกรณีที่มีบัญชีใช้งาน หลายบัญชี ที่ต้องมีการจำรหัสผ่าน หลายๆรหัสผ่าน เราใช้สามารถใช้เครื่องมือ อย่าง Password Manager ช่วยในการจดจำรหัสผ่าน

ปัจจัยที่ 2. Something you have (สิ่งที่คุณมี) ในส่วน​ของปัจจัยนี้โดยมากจะเป็นสิ่งที่เราสามารถพกมันติดตัวไว้ด้วยตลอดมีทั้ง​ Personal Identity Verification (PIV) หรือพวก​ Smart Card แต่สิ่งที่พบเห็นได้บ่อยเลย และมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือพวก​ Software token และ​ Hardware token ตัวอย่าง​ ​Software Token เช่น ​Google Authenticator, Microsoft Authenticator, RSA SecurID Software Token, FortiToken etc. ในส่วนของ Hardware Token จะได้รับความนิยมน้อยกว่า Software Token เนื่องจาก Hardware Token จะต้องซื้อมาใช้งานและมีลักษณะอุปกรณ์คล้าย USB Flash Drive or Card ที่ต้องพกติดตัวไว้ ซึ่งก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ โดยที่พวก​ Token เหล่านี้จะทำหน้าที่​ Generate OTP หรือ​ One-time Password ที่ใช้ครั้งเดียว โดยส่วนมากอุปกรณ์เหล่านี้จ​ะ​ Automatic Generate ให้ใหม่ทุกๆ​ 30​ วินาที​ โดยหลัก​ Standards​ ของเหล่า​ Token พวกนี้ที่ใช้​ Generate OTP ให้เราคือ​ HMAC-based One-Time Password (HOTP) and Time-based One-Time Password (TOTP)

ปัจจัยที่ 3. Something you are (สิ่งที่คุณเป็น) ในส่วน​ของปัจจัยนี้ คือ ลายนิ้วมือ หรือ ระบบจดจำใบหน้า ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมอย่างมาก​ และกว้างขวางในหลาย​แวดวงธุรกิจที่จะนำมันมาใช้​เช่น​ Alibaba นำ​ facial recognition payment มาใช้ในการชำระเงินตอน​ Shopping หรือโทรศัพท์​ปัจุบัน​หลายๆรุ่นก็สามารถปลดล็อคผ่านใบหน้าหรือผ่านลายนิ้วมือได้กันเยอะแล้ว​ โดยสิ่งนี้เรียกมันว่า Biometrics แล้ว Biometrics คืออะไร มันก็คือการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ เฉพาะทางกายภาพหรือพฤติกรรม มาใช้ในการตรวจสิทธิเพื่อรับรองความถูกต้อง เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ เสียง ม่านตา เรตินา ใบหน้า ดีเอ็นเอ ลายเซ็น​ อะไรก็ตามแต่ที่มันคือตัวเราและเป็นเอกลักษณ์​ของเรานั่นเอง​

ปัจจัยที่ 4. Somewhere you are (ที่ที่คุณอยู่) ในส่วน​ปัจจัยนี้หลายคนคงไม่คุ้นและไม่ค่อยรู้จักมันเท่าไหร่​หนัก ถ้าไม่อยู่ในสาย​ Security​ หรือเคยได้ใช้งานมัน​ โดย​ Factor นี้มันจะ Detection​ User location ด้วย​ Internet Protocol (IP) addresses เช่นเมื่อเราใช้​ Service​ Geolocation security checks โดยบาง​ Applications หรือบาง​ ​Web​ Site เกี่ยวกับเรื่องเงินๆทอง​ มันจะมีให้เราระบุว่าอาศัยประเทศไหน​ เมื่อเราระบุ​ Thailand ไปเรียบร้อย​ อยู่​ดี​คืนดี มีคนมา ​Login ด้วย​ User​&Password เรา​ที่โซมาเลียแลนด์​ Service​ มันจะ​ Detection ให้และส่ง​ Notify มาให้เราเพื่อทำการ​ Block ได้ทัน

ปัจจัยที่ 5. Something you do (สิ่งที่คุณทำ) สำหรับ​ปัจจัยที่​ 5 เป็น​ปัจจัยท้ายสุด​และสุดท้ายเพราะมันไม่ค่อยจะมีคนรู้จักและนำมันไปใช้มากหนัก​ เช่น พฤติกรรมและนิสัย การพิมพ์ (keystroke biometrics) ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นตัวเราที่เป็นคนทำ หรือ​ Case Study ที่ออกแบบถ้าให้ใกล้ตัวเองมากเลยก็คือการ​ Map​ MAC Address/IP กับ​ Lan Port ถ้าเกิดมีการนำเครื่องนอกหรือเครื่องอื่นนอกเหนือจาก​ Setup ไว้จะมาเสียบกับ​ Lan port ที่ไม่ตรงกับ​ MAC/IP​ ที่กำหนดไว้มันจะไม่สามารถเข้ามาใช้​ Network ขององค์กรได้

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Multi-Factor Authentication

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของ multi-factor authentication นั่นก็คือ “ความปลอดภัยที่สูงขึ้น” การเพิ่มเครื่องมือหรือปัจจัยในการรับรองความถูกต้องเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ password, hardware token และ biometric เพื่อรับรองความถูกต้องของผู้ใช้งาน สามารถลดความเสี่ยงการละเมิดการเข้าถึงข้อมูลและซอฟต์แวร์ลงได้เป็นอย่างมาก ในปัจจุบันการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้แค่รหัสผ่าน ในด้านความปลอดภัยอาจจะไม่เพียงพอ ระบบอาจจะเสี่ยงต่อการถูกโจมตี จากการที่ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านที่ง่ายที่จะถูกคาดเดา หรือ ทำข้อมูลรหัสผ่านหลุด โดย Multi-Factor Authentication เป็นการยืนยันพิสูจน์ตัวตนอีกชั้นให้กับระบบ เช่น การยืนยันตัวผ่านมือถือที่ต่อให้ผู้ใช้ ทำข้อมูลรหัสผ่านหลุดไป ก็ยังมีระบบ Multi-Factor Authentication คอยป้องกันอีกชั้นทำให้ระบบของคุณมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ Multi-Factor Authentication มีประโยชน์อย่างมากในการใช้งานเพื่อความปลอดภัยในการยืนยันผู้ใช้งานเข้าระบบ ในหลายครั้งก็มักจะตามมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการและการใช้งาน ผู้ใช้งานจำเป็นต้องจัดเตรียม factor ที่สอง (อย่างแรกคือสิ่งที่รู้ หรือจำได้) สำหรับบางผู้ใช้งาน การต้องจัดเตรียมโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อรับ one-time password (OTP) ผ่าน SMS อาจจะเป็นข้อจำกัด แต่ถึงอย่างนั้น Multi-Factor Authentication ก็ยังคงเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับองค์กรในการล็อคระบบเครือข่าย หรือแอพพลิเคชั่นจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต

มาถึงตรงนี้ทุกคนก็น่าจะเข้าใจ​เรื่อง​ Multi-Factor Authentication ​ กันมากขึ้นละนะครับ​ ซึ่งก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกคนที่สนใจนะครับ

--

--

No responses yet